บริการตรวจสอบเครน
Thailand C R A N E ให้บริการตรวจสอบความปลอดภัยของรอก และ เครนโรงงานอุตสาหกรรม บริการทดสอบน้ำหนักตามแบบฟอร์มของทางราชการ (ปจ.1) และเซ็นต์รับรองโดยวิศวกรระดับสามัญ ที่มีประสบการณ์เป็นผู้เชียวชาญในการตรวจสอบเครนมาเป็นระยะเวลายาวนาน คอยให้คำแนะนำท่าน
😐 การดูแลรักษาเครน ให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานเสมอ เรามีบริการเริ่มตั้งแต่ตรวจสอบสภาพเครนพร้อมออกใบรับรอง ซ่อมแซมบำรุงรักษาให้เครนอยู่ในสภาพที่ดี จนถึงโอเวอร์ฮอลรอกหลังจากใช้มาเป็นเวลานาน
😐 ตรวจสอบสภาพเครน เพื่อให้การใช้เครนมีประสิทธิภาพสูงสุดและทำงานได้อย่างปลอดภัย เรามีบริการดูแลบำรุงรักษา 1 ปี โดยเข้าดูแลตรวจสอบสภาพทุก 3 เดือน (ทั้งหมด 4 ครั้ง) พร้อมออกใบ จป.1
😐 บำรุงรักษาและซ่อมแซม หลังการใช้งานไปซักระยะชิ้นส่วนต่างๆ ก็จะเริ่มมีการสึกหรอจากการใช้งานจนบางครั้งก็ก่อให้เกิดปัญหา เรามีทีมช่างที่ชำนาญพร้อมเข้าไปบริการซ่อมแซมและดูแลรักษาจนสามารถกลับมาใช้งานได้
😐 โอเวอร์ฮอล หลังจากการใช้งานมาเป็นเวลาหลายปี ชิ้นส่วนต่างๆ ของรอกก็จะสึกกร่อน ไม่สามารถใช้งานได้หรืออยู่ในสภาพที่ไม่ปลอดภัยที่จะใช้งาน การโอเวอร์ฮอลก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกแทนการซื้อรอกใหม่ ชิ้นส่วนต่างๆ จะถูกถอด
ขั้นตอน การตรวจสอบเครน
1. ตรวจสอบสภาพโครงสร้างหลักของเครน (ปั้นจั่น)
ตรวจสอบรอยเชื่อม สภาพน๊อต และการคลายตัว
2. ตรวจสอบระบบต้นกำลังเครน
ตรวจสอบระบบหล่อลื่นเครน, ระบบเชื้อเพลิง, ระบบระบายความร้อน, มอเตอร์ และระบบควบคุมไฟฟ้า, ระบบต่อกำลังและระบบเบรคเครน
3. ตรวจสอบการเคลื่อนที่ของเครน (ปั้นจั่น)
ตรวจสอบชุด Limit switches การทำงานของชุดควบคุมพิกัดการยก
4. ตรวจสอบม้วนรอก สลิงเครน
ตรวจเส้นผ่านศูนย์กลางสลิง โซ่ การชำรุดสึกหรอ
5. สัญญาณเสียง และ แสงไฟเตือนเครน (ปั้นจั่น)
ความสว่างของไฟเตือน และ ระบบเสียงเตือนได้ยินชัดเจน
6. ทดสอบพิกัดการยก (Load test)
โดยการใช้น้ำหนักจริง (ตุ้มน้ำหนัก) เพื่อทดสอบการยกอย่างปลอดภัย
7. ออกรายงานการตรวจสอบเครน ปจ.1 ปจ.2
บริการตรวจสอบโดยทีมงานวิศวกรผู้เชี่ยวชาญพร้อมอุปกรณ์ทำงานที่ทันสมัยตามมาตรฐานสากลทำให้ลูกค้าสามารถวางแผนการบำรุงรักษาได้อย่างถูกจุดประหยัดค่าใช้จ่าย
ด้วยปัจจุบันในภาคอุตสาหกรรมของไทยนั้น พบว่ามีการนำเอา เครน หรือ ปั้นจั่น มาใช้ในการเคลื่อนย้ายและยกชิ้นงานค่อนข้างมาก ทั้งนี้ก็เป็นไปตามลักษณะของสภาวะการทางด้านเศรษฐกิจที่อยู่ในช่วงของการขยายตัวที่ชัดเจนและต่อเนื่อง
เครน หรือ ปั้นจั่น เป็นสิ่งที่นำมาใช้เพื่อการทุ่นแรง และเพื่อการอำนวยความสะดวกแก่ผู้ปฏิบัติงาน แต่สิ่งหนึ่งที่เป็นประเด็นที่น่าสนใจอย่างยิ่งที่ไม่ควรมองข้าม คือ เรื่องของการดำเนินงานของหลาย ๆ ที่ที่เรายังคงพบว่ามีข่าวการเกิดอุบัติเหตุจากการใช้งานหรือการปฏิบัติงานด้วยเครนหรือปั้นจั่นอยู่เสมอ
โดยหน่วยงานหนึ่งที่เป็นหน่วยงานผู้ซึ่งรับผิดชอบเกี่ยวกับความปลอดภัยในเรื่องนี้ นั่นคือ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน ซึ่งได้มีการกำหนดว่า “จะต้องมีการทำการตรวจสอบ ทดสอบเกี่ยวกับส่วนประกอบและอุปกรณ์ของเครนหรือปั้นจั่น” ที่เป็นไปตามประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการทดสอบส่วนประกอบและอุปกรณ์ของปั้นจั่น พ.ศ. 2554
ในการดำเนินการจะต้องอาศัยบุคคลที่มีความชำนาญเฉพาะด้าน หมายถึง วิศวกรเครื่องกล ผู้ซึ่งมีบทบาทหน้าที่ในการจัดทำข้อมูล รายการที่จะต้อง ตรวจสอบ ทดสอบ เสนอให้กับทางผู้จ้างเพื่อนำไปสู่การพัฒนา ปรับปรุง แก้ไขที่ดียิ่งขึ้น ทั้งนี้จะต้องเน้นในเรื่องของหลักความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงาน หรือลูกจ้างที่เกี่ยวข้องทุกราย
การตรวจสอบ และ การทดสอบอุปกรณ์ช่วยยก ก็ต้องได้รับการตรวจสอบด้วยเช่นกัน รวมไปถึงส่วนประกอบต่าง ๆ ของปั้นจั่น สลิงเหล็ก Galvanize Wire Rope สลิงเส้นใยสังเคราะห์ Synthetic Sling ชุดโซ่ยก Lifting Chain อายโบลท์ Eye Bolt แช็คเคิล Shackle แบบตัวดี, แบบโบว์ และแบบใช้งานกับสลิงเส้นใยสังเคราะห์แบบแบน D Shackle, Bow Shackle and Webbing Sling Shackle เพลทแคลมป์ Plate Clamp ห่วงคล้องตะขอยกแบบเดี่ยว Master Link ห่วงคล้องตะขอยกแบบชุด Master Link Assembly ฯลฯ เป็นต้น
ตามประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการทดสอบส่วนประกอบและอุปกรณ์ของปั้นจั่น ประกาศเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2564 ว่าด้วยการทดสอบการรับน้ำหนักของปั้นจั่นที่ใช้งานแล้ว
ให้ทดสอบการรับน้ำหนักที่ 1.25 เท่าของน้ำหนักที่ใช้งานจริงสูงสุด แต่ต้องไม่เกินพิกัดน้ำหนักยกอย่างปลอดภัย (SWL) ตามที่บริษัทผู้ผลิตกำหนด อาทิเช่น
โรงงานซื้อเครนขนาด 10 ตัน มาใช้งาน แต่โรงงานใช้เครนตัวนี้ยกของที่มีขนาดน้ำหนักมากสุดสูงสุดไม่เกิน 5 ตัน เมื่อถึงเวลาต้องทำการทดสอบ (Load Test) ตามกฏหมาย หลักเกณฑ์วิธีการทดสอบการรับน้ำหนัก คือ 5 x 1.25 = 6.25 ตัน ก็ต้องหาลูกตุ้มน้ำหนักขนาด 6.25 ตัน มาทำการยกทดสอบ
(อ่านกฎหมายฉบับเต็ม : กำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร ปั้นจั่น และหม้อน้ำ 2564)
กฎหมายระบุความถี่ในการตรวจปั้นจั่นไว้ดังนี้
1. ปั้นจั่นที่ใช้ในงานก่อสร้าง : พิกัดยกอย่างปลอดภัยตามที่ผู้ผลิตกำหนด
ไม่เกิน 3 ตัน ให้ทดสอบตามวาระทุก 6 เดือน
มากกว่า 3 ตัน ให้ทดสอบตามวาระทุก 3 เดือน
2. ปั้นจั่นที่ใช้ในงานอื่นๆ : พิกัดยกอย่างปลอดภัยตามที่ผู้ผลิตกำหนด
ตั้งแต่ 1 ตัน ไม่เกิน 3 ตัน ให้ทดสอบตามวาระทุก 1 ปี
มากกว่า 3 ตัน ไม่เกิน 50 ตัน ให้ทดสอบตามวาระทุก 6 เดือน
มากกว่า 50 ตัน ให้ทดสอบตามวาระทุก 3 เดือน
3. ปั้นจั่นที่ไม่มีพิกัดยกอย่างปลอดภัยตามที่ผู้ผลิตกำหนด ให้วิศวกรเป็นผู้กำหนดพิกัดยก
4. ปั้นจั่นที่หยุดการใช้งาน ตั้งแต่ 6 เดือน หรือซ่อมแซมที่มีผลต่อความปลอดภัย ให้ทดสอบใหม่ก่อนการใช้งาน
โดยมีเอกสารที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ แบบรายการตรวจสอบ ทดสอบสำหรับปั้นจั่นเหนือศีรษะ ปั้นจั่นหอสูง และปั้นจั่นขาสูง (ปั้นจั่นชนิดอยู่กับที่) (ปจ.1) หรือแบบรายการตรวจสอบ ทดสอบสำหรับรถปั้นจั่น และเรือปั้นจั่น (ปั้นจั่นชนิดเคลื่อนที่) (ปจ.2)
ทีมวิศวกรและทีมงานตรวจสอบเครน ของ Thailand CRANE พร้อมให้บริการงานตรวจสอบเครนทุกประเภท ทั้งในโรงงานอุตสาหกรรม หน่วยงานภาครัฐและเอกชน
ทดสอบน้ำหนักเครน (Crane Load Test ) ทดสอบการใช้งานและความปลอดภัยของเครนที่ใช้งานในโรงงาน พร้อมทั้งออกเอกสารรับรอง ปจ.1 ปจ.2 โดยวิศวกรระดับสามัญเครื่องกลที่มีคุณสมบัติผู้ตรวจสอบเครน ประสบการณ์สูง
เพื่อให้การบริการที่ดีที่สุดกับลูกค้าเรา Thailand CRANE จึงออกกำหนด ขั้นตอนการเข้ารับบริการ ที่เป็นมาตรฐานการทำงาน (ตามมาตรฐาน ISO 9001:2015) เพื่อให้ทุกกระบวนการทำงานทุกขั้นตอนนั้นเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
1. เตรียมปั้นจั่นให้พร้อมตรวจ
ลูกค้าเตรียมปั้นจั่นให้พร้อมตรวจตามวันและเวลาที่กําหนดโดยปั้นจั่นจะต้องหยุดใช้งานเพื่อทำการตรวจสอบ
2. ลูกค้าเตรียมน้ำหนักโหลดเทส
ลูกค้าเป็นผู้จัดเตรียมน้ําหนัก (Load) และ อุปกรณ์คล้องเกี่ยวสําหรับทดสอบการรับน้ำหนักของปั้นจั่นไว้หน้างานให้เรียบร้อย
3. รถยกสำหรับคลื่อนย้ายตุ้มน้ำหนัก
ลูกค้าต้องจัดเตรียมพาหนะสําหรับขนย้ายตุ้มน้ําหนักให้พร้อมต่อการตรวจสอบ เช่นโฟลคลิฟท์, แฮนด์ลิฟท์ เป็นต้น
4. ผู้ประสานงานระหว่างทําการตรวจสอบ
ลูกค้าจัดให้มีผู้ประสานงานระหว่างทําการตรวจสอบและเข้าพื้นที่ตลอดระยะเวลาการตรวจสอบจนเสร็จสิ้น
5. จัดเตรียมอุปกรณ์ขึ้นที่สูง
กรณีเครน (ปั้นจั่น) ไม่มีบันไดทางขึ้น – ลง ลูกค้าเป็นผู้จัดเตรียมอุปกรณ์ขึ้นที่สูง เช่น บันได, รถกระเช้า, รถโฟล์คลิฟท์ เป็นต้น
6. เตรียม Single line diagram
ลูกค้าเป็นผู้จัดเตรียม Single line diagram ระบบไฟฟ้าของเครน (ปั้นจั่น) – ถ้ามี
7. การตรวจสอบ และ เวลาที่ใช้
เครน (ปั้นจั่น) พิกัดไม่เกิน 5 ตัน ใช้เวลาในการตรวจสอบ 1 ชั่วโมงต่อตัวโดยประมาณ กรณีลูกค้าเตรียมครบตามข้อที่ 1 ถึง 6
8. เซ็นต์รับรองการทำงาน (Work Order)
ทุกครั้งที่มีการเข้าบริการลูกค้าจะต้องทำการเซ็นยืนยันในแบบฟอร์ม Work Order โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนเซ็นต์ยืนยัน
เกี่ยวกับทีมงานที่เข้าบริการ
- ทีมงานระดับหัวหน้าหรือผู้ควบคุมผ่านการฝึกอบรมความปลอดภัยอาชีวอนามัยฯตามที่กฎหมายกำหนด เช่น หลักสูตร จป.หัวหน้างาน, ผู้บังคับปั้นจั่น 4 ผู้, การทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้า, ความปลอดภัยพนักงานใหม่ 6 ชม. เป็นต้น
- ทีมงานระดับปฏิบัติการ ผ่านการฝึกอบรมปลอดภัยอาชีวอนามัยฯตามที่กฎหมายกำหนด เช่น ความปลอดภัยพนักงานใหม่ 6 ชม., ผู้บังคับปั้นจั่น 4 ผู้, การทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้า
เกี่ยวกับมาตรการป้องกัน COVID-19 บริการนอกสถานที่ (Onsite Service)
- เรากำหนดให้พนังงานทุกคนทำการตรวจวัดอุณหภูมิก่อนเข้าให้บริการโดนจะต้องไม่เกิน 37.5 องศา
- ทีมงานจะต้องสวมใส่ผ้าปิดจมูกตลอดระยะเวลาปฏิบัติงาน
- จะต้องไม่มีอาการ เช่น ไอ น้ำมูก เจ็บคอ
- ไม่มีประวัติเสี่ยง หรือ ประวัติเดินทางออกนอกประเทศ
- พนักงานของ Thailand CRANE ทุกคนจะต้องปฏิบัติตามมาตการของลูกค้าอย่างเคร่งครัด
- แบบปั่นจั่นเช่น ปั้นจั่นหอสูง (Tower Crane) ปั้นจั่นเหนือศีรษะ (Overhead Crane) ปั้นจั่นขาสูง (Gantry Crane) รอก (Hoist)
- ผู้ผลิต ประเทศที่ผลิต วันที่ผลิต
- ขนาดพิกัดยกอย่างปลอดภัย (Safe Working Load)
- รายละเอียดคุณลักษณะ (specification) และคู่มือการใช้การประกอบ การทดสอบ การซ่อมบำรุง และตรวจสอบ
- การแก้ไขดัดแปลงส่วนใดส่วนหนึ่งของปั้นจั่น
- โครงสร้างปั้นจั่น
- สภาพโครงสร้างหลักปั้นจั่น
- สภาพรอยเชื่อม (Joints)
- สภาพของน็อต สลักเกลียวยึดและหมุดย้ำ
- การติดตั้งปั้นจั่นบนฐานที่มั่นคง
- ระบบต้นกำลัง
- ระบบมอเตอร์และระบบควมคุมไฟฟ้า
- ระบบส่งกำลัง ระบบตัดต่อกำลัง และระบบเบรก
- ครอบปิดหรือกั้น (Guard) ส่วนที่หมุน ส่วนที่เคลื่อนไหวได้ หรือส่วนที่อาจเป็นอันตราย
- ระบบควบคุมการทำงานของปั้นจั่น
- Limit Switched
- การเคลื่อนที่บนรางหรือแขนของปั้นจั่น
- การทำงานของชุดควบคุมพิกัดน้ำหนักยก
- สภาพของลวดสลิงเคลื่อนที่(Running Ropes)/โซ่ (Running Chains)
- สภาพของลวดสลิง/โซ่
- อุปกรณ์ป้องกันไม่ให้ล้อเลื่อนตกจากรางด้านข้าง
- ปั้นจั่นที่มีความสูงเกินสามเมตร ต้องมีบันไดพร้อมราวจับและโครงโลหะกันตก
- การจัดทำพื้นชนิดกันลื่น ราวกันตก และแผงกันตกระดับพื้น (ชนิดที่ต้องจัดทำพื้นและทางเดิน)
- สัญญาณเสียงและแสงไฟเตือนตลอดเวลาที่ปั้นจั่นทำงาน
- ป้ายบอกพิกัดน้ำหนักยกติดไว้ที่ปั้นจั่น และรอกของตะขอ
- ตารางยกสิ่งของติดไว้ในบริเวณที่ผู้บังคับปั้นจั่นเห็นได้ชัดเจน
- รูปภาพการใช้สัญญาณมือในการสื่อสารระหว่างผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับปั้นจั่น ติดไว้ที่จุดหรือตำแหน่งที่ลูกจ้าง ปฏิบัติงานได้ชัดเจน
- เครื่องดับเพลิงพร้อมใช้งานได้ที่ห้องบังคับปั้นจั่น
- อุปกรณ์หรือเครื่องมือที่ใช้ในการทดสอบ
- การทดสอบการรับน้ำหนักปั้นจั่นในครั้งนี้ เป็นการทดสอบในกรณี
- น้ำหนักยกที่อนุญาตให้ใช้งาน
เรามีทีมงานช่างบริการงาน ตรวจสอบเครน ออกเอกสาร ปจ1, ปจ2 ทุกพื้นที่บริการแบบรวดเร็ว โดยทีมงานวิศกรมืออาชีพ รวมถึง บริการงานซ่อมเครนด่วนแบบฉุกเฉิน สำหรับลูกค้าที่เครนเสีย พร้อมดำเนินงาน ซ่อมด่วน! ทั่วไทย
สอบถามเพิ่มเติม