
ปั้นจั่น (ปจ.1) คืออะไร??
ปจ.1 คืออะไร ปั้นจั่น หรือ เครนชนิดอยู่กับที่ ตามที่กฎหมายกำหนด
ปจ. นั้นย่อมาจาก ‘ปั้นจั่น’ หรือที่เราเรียกกันติดปากว่า ‘เครน’ แต่ในกฎหมายไทยนั้นไม่สามารถจะใช้คำที่เป็นภาษาอังกฤษได้ จึงทับศัพท์ภาษาอังกฤษ ‘เครน’ ว่า ‘ปั้นจั่น’
ยกตัวอย่างให้พอเห็นภาพว่ามีอะไรบ้าง ดังนี้
ปั้นจั่นชนิดอยู่กับที่ ปจ.1
Gantry Crane (เครนแบบมีขา), Overhead Crane (เครนเหนือศรีษะ) Electric Chain Hoist (รอกโซ่ไฟฟ้า, Semi Gantry Crane, Portal Crane, Floating Crane (เครนลอยน้ำ), Container handling Crane, JIB Crane or Wall Crane (เครนแบบบูมสวิง), Passenger Hoist and Material lift (ลิฟท์โดยสารและขนส่งวัสดุ), Concrete placing Boom, Gondola (กระเช้าไฟฟ้า)
- ลิฟต์ทุกชนิด
- ลิฟท์โรงงานทั่วไป
- ลิฟท์ระบบไฮโดรลิค
- ลิฟท์ขนของ
- ลิฟท์คลังสินค้า
- ลิฟท์ยกสินค้า
- ลิฟท์บรรทุกของ
- รอกทุกชนิด
- ปั้นจั่นทุกชนิด
- Hoist
กฎหมายระบุว่าต้องทำการตรวจ ปจ.1 ตามที่กฎหมายกำหนด และให้วิศวกรเซ็นต์รับรองความปลอดภัยตามแบบตรวจ ปจ.1 ของกรมสวัสดิการฯ
ความถี่ในการตรวจปั้นจั่น
1. ปั้นจั่นที่ใช้ในงานก่อสร้าง
– พิกัดยกอย่างปลอดภัยตามที่ผู้ผลิตกำหนด ไม่เกิน 3 ตัน ให้ทดสอบตามวาระทุก 6 เดือน
– พิกัดยกอย่างปลอดภัยตามที่ผู้ผลิตกำหนด มากกว่า 3 ตัน ให้ทดสอบตามวาระทุก 3 เดือน
2. ปั้นจั่นที่ใช้ในงานอื่นๆ
– พิกัดยกอย่างปลอดภัยตามที่ผู้ผลิตกำหนด ตั้งแต่ 1 ตัน ไม่เกิน 3 ตัน ให้ทดสอบตามวาระทุก 1 ปี
– พิกัดยกอย่างปลอดภัยตามที่ผู้ผลิตกำหนด มากกว่า 3 ตัน ไม่เกิน 50 ตัน ให้ทดสอบตามวาระทุก 6 เดือน
– พิกัดยกอย่างปลอดภัยตามที่ผู้ผลิตกำหนด มากกว่า 50 ตัน ให้ทดสอบตามวาระทุก 3 เดือน
3. ปั้นจั่นที่ไม่มีพิกัดยกอย่างปลอดภัยตามที่ผู้ผลิตกำหนด ให้วิศวกรเป็นผู้กำหนดพิกัดยก
4. ปั้นจั่นที่หยุดการใช้งาน ตั้งแต่ 6 เดือน หรือซ่อมแซมที่มีผลต่อความปลอดภัย ให้ทดสอบใหม่ก่อนการใช้งาน น้ำหนักที่ใช้ในการทดสอบเครนวิศวกรต้องทดสอบการรับน้ำหนักของปั้นจั่น ตามอายุการใช้งาน
4.1 ปั้นจั่นใหม่ ขนาดไม่เกิน 20 ตัน ให้ทดสอบการรับน้ำหนักที่ 1 เท่า แต่ไม่เกิน 1.25 เท่า ขนาดมากกว่า 20 ตัน แต่ไม่เกิน 50 ตัน ให้ทดสอบการรับน้ำหนักเพิ่มอีก 5 ตันจากพิกัดยกอย่างปลอดภัย
4.2 ปั้นจั่นที่ใช้งานแล้ว ให้ทดสอบการรับน้ำหนักที่ 1.25 เท่าของน้ำหนักที่ใช้งานจริงสูงสุด โดยไม่เกินพิกัดยกอย่างปลอดภัยตามที่ผู้ผลิตกำหนด
กรณีที่ปั้นจั่นไม่มีพิกัดยกอย่างปลอดภัยตามที่ผู้ผลิตกำหนด ให้วิศวกรเป็นผู้กำหนดพิกัดยกในการทดสอบ
ตรวจสอบ และ ทดสอบสอบอุปกรณ์ช่วยยกก็ต้องได้รับการตรวจสอบด้วยเช่นกัน รวมไปถึงส่วนประกอบต่างๆ ของปั้นจั่น
สลิงเหล็ก, Galvanize Wire Rope, สลิงเส้นใยสังเคราะห์, Synthetic Sling, ชุดโซ่ยก (Lifting Chain), อายโบลท์ (Eye Bolt), แช็คเคิล (Shackle) แบบตัวดี, แบบโบว์ และแบบใช้งานกับสลิงเส้นใยสังเคราะห์แบบแบน (D shackle, Bow shackle and Webbing sling shackle) เพลทแคลมป์ (Plate Clamp) ห่วงคล้องตะขอยกแบบเดี่ยว (Master Link), ห่วงคล้องตะขอยกแบบชุด (Master Link Assembly) ฯลฯ