การใช้งาน รถเครน อย่างปลอดภัย
ปัจจุบันรถเครนได้เข้าไปมีบทบาทในการทำงานประเภทต่าง ๆ เช่น งานก่อสร้าง งานขนส่ง งานโรงงานอุตสาหกรรม งานซ่อมบำรุง และงานยกย้ายทั่วไป จากความหลากหลายในการทำงานอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุขึ้นได้ เพื่อป้องกันอุบัติเหตุจากการทำงานควรปฏิบัติตามคำแนะนำ ดังนี้
- ควรสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล
- ไม่ควรปฏิบัติงานเมื่อรู้สึกป่วยหรือมีอาคารเมาค้าง
- ควรศึกษาคู่มือการใช้งานให้เข้าใจ สังเกตป้ายคำเตือนต่าง ๆ และปฏิบัติตาม
- ควรมีถังดับเพลิง และชุดปฐมพยาบาลติดไว้ในรถเครน
- ควรทำความสะอาดป้ายเตือนต่าง ๆ ให้มองเห็นชัดเจน
- ไม่ควรวางอุปกรณ์เกะกะภายในห้องควบคุม
- ควรปรับเบาะนั่งให้เหมาะสมกับสรีระร่างกาย
- ไม่ควรวางวัตถุหรือให้บุคคลอื่นนั่งบนรถเครนขณะเดินทาง
- ควรเปิดประตูหน้าต่างหากมีการติดตั้งเครื่องยนต์ภายในอาคารเพื่อระบายอากาศ
- ไม่ทิ้งเครื่องมือ เศษผ้าไว้บนเครื่องยนต์
- ไม่ควรสตาร์ทเครื่องยนต์ เมื่ออยู่ภายนอกห้องควบคุม และให้สัญญาณเสียงทุกครั้งก่อนการสตาร์ท
- ควรมีป้ายเตือน เมื่อมีการซ่อม หรือการห้ามใช้งาน
- ตำแหน่งคันบังคับ และคันเกียร์ต้องอยู่ในตำแหน่งว่าง หรือหยุดทำงานก่อนสตาร์ทเครื่อง
- ตำแหน่งPTO ต้องอยู่ตำแหน่งหยุดทำงานก่อนรถเดินทาง
- ให้ปฏิบัติตามกฎจราจรเมื่อใช้งานบนท้องถนน
- ไม่อนุญาตให้มีผู้โดยสารภายในห้องควบคุมระหว่างวิ่ง
- ควรปิดไฟสำหรับทำงานในขณะทำงานบนท้องถนน
- ไม่ควรดับเครื่องยนต์ขณะวิ่งลงทางลาดชัน
- ไม่ออกตัวแรงหรือเบรกกะทันหัน ยกเว้นกรณีฉุกเฉิน
- ควรมีผู้ช่วยในการให้สัญญาณเมื่อผ่านถนนแคบ
- ให้ระมัดระวังเมื่อต้องวิ่งลอดอุโมงค์หรือสายไฟฟ้า
- การหยุดรถเมื่อติดสัญญาณ ให้มีระยะจอดที่ปลอดภัย
- ควรให้ตำแหน่งพวงมาลัย และล้อตรงขณะจอด
- ควรตรวจสอบแรงดันลมให้ปกติ และใช้เบรกเท้าก่อนการปลดเบรกมือ
- ให้เกียร์อยู่ตำแหน่ง“ว่าง” ขณะจอดชั่วคราว
- ควรหมั่นสังเกตมาตรวัดแรงดันลมเบรกบ่อย ๆ
- ไม่ควรเหยียบเบรกเท้าค้างไว้ขณะวิ่ง
- ควรใช้เกียร์ต่ำขณะวิ่งลงทางลาดชัน
- เมื่อต้องวิ่งผ่านแอ่งน้ำต้องระมัดระวัง เพราะอาจทำให้ระบบไฟฟ้าขัดข้อง หรือเสียการควบคุมรถได้
- เมื่อรถเกิดเสียให้จอดรถชิดขอบทางด้านซ้าย พร้อมให้สัญญาณเตือนรถจอดฉุกเฉิน
- ควรมีการประชุมวางแผนก่อนการทำงาน
- การตรวจสอบบริเวณพื้นที่ทำงานให้มีความปลอดภัยในการทำงาน
- ควรกันผู้ไม่เกี่ยวข้องเข้าใกล้บริเวณที่รถเครนทำงาน
- ควรมีผู้ช่วยให้สัญญาณเมื่อทำงานในพื้นที่ที่จำกัด
- ควรทำความสะอาดกระจกด้านหน้า กระจกมองข้าง และไฟสัญญาณ ก่อนการทำงาน
- ควรจัดหาแสงสว่างให้เพียงพอ สำหรับการทำงานในพื้นที่แสงสว่างน้อย หรือวิสัยทัศน์
- ควรมีเครื่องกั้นและผู้ให้สัญญาณเมื่อต้องการทำงานบนถนนและทำแนวกั้นเขตสำหรับพื้นที่ทำงาน
- ควรมีฉนวนหุ้มสายไฟ และรักษาระยะการทำงานที่ปลอดภัยจากแนวสายไฟ
- ควรระวังอันตรายเมื่อทำงานใกล้แนวสัญญาณวิทยุ
- ควรหยุดทำงาน และเก็บบูมเมื่อเกิดฝนฟ้าคะนอง หมอกลงจัด หรือลมกรรโชกแรง
- ควรจัดให้มีผู้ให้สัญญาณเพียงคนเดียว
- ควรมีการให้สัญญาณการทำงานเมื่อมีเครนมากกว่า1 คัน
- ควรใช้บันได หรือมือจับในการขึ้นลงเครน
- ควรตรวจสอบระบบตัดการทำงานรอก ก่อนการทำงานจริง
- ควรใช้แผ่นรองขา เมื่อตั้งเครนบนพื้นถนน ปูด้วยก้อนอิฐ
- ควรสำรวจว่ามีแนวท่อต่าง ๆ ฝังอยู่ใต้ขาตั้งเครนหรือไม่
- ควรระมัดระวังเมื่อตั้งเครน ใกล้พื้นที่ที่เป็นทางลาด
- ควรปรับพื้นที่เป็นทางลาดให้แน่นและได้ระดับก่อน ไม่ควรใช้ไม้รอง หรือปรับระดับในการตั้งเครน
- ควรปรับล็อคระบบช่วงล่างก่อนการตั้งเครน
- ตรวจสอบระยะการยืดคานขาเครนให้ถูกต้องตามที่ใช้งาน
- ปรับระดับรถเครนให้ได้แนวระนาบ และขาเครนทุกด้านต้องกดลงพื้น ล้อทุกล้อต้องลอยพ้นพื้นดิน
- พื้นที่ตั้งเครนต้องรับน้ำหนักที่ลงขาเครนได้ขณะเริ่มยก
- ห้ามใช้น้ำหนักถ่วงหรือเหนี่ยวรั้งคานขาเครนขณะทำการยก
- ควรยกน้ำหนักไม่เกินจากค่าที่กำหนดในตารางน้ำหนัก
- ไม่ควรตัดหรือปิดการทำงานของระบบความปลอดภัยต่างๆ
- ไม่หยุดคันบังคับกะทันหัน เพราะจะทำให้ชิ้นงานเกิดการแกว่งไปมาเป็นอันตรายได้
- ควรใช้เชือกประคองชิ้นงานขณะยก เพื่อป้องกันการหมุนไปมาของชิ้นงาน
- ไม่ควรยกชิ้นงานมากกว่าหนึ่งชิ้น หรือชิ้นงานที่ไม่ทราบขนาดหรือน้ำหนักที่แท้จริง
- ควรมีช่วงห่างระหว่างสิ่งกีดขวาง กับรถเครนให้สามารถทำงานได้อย่างปลอดภัย
- ควรใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษสำหรับการทำงานรื้อถอน
- ควรเหลือรอบของลวดสลิงในกว้านไม่น้อยกว่า3 รอบ
- การใช้งานสองรอกพร้อมกัน น้ำหนักชิ้นงานต้องไม่เกินกว่าน้ำหนักของรอกเล็กจะรับได้
- ควรเผื่อน้ำหนักสำหรับการยกชิ้นงานขึ้นจากน้ำ และหยุดสักครู่ในขณะที่ชิ้นงานจะลอยขึ้นจากผิวน้ำ
- ห้ามเพิ่มน้ำหนักถ่วงท้าย เกินกว่าที่ออกแบบไว้
- ไม่ควรถอดจิ๊ปออกขณะยก เพราะเครนส่วนใหญ่ถูกออกแบบให้จิ๊ปเป็นตัวช่วยถ่วงน้ำหนักขณะยก
- ไม่ควรละสายตาจากชิ้นงานขณะยก
- ไม่ควบคุมคันบังคับจากภายนอกห้องควบคุม หรือออกจากห้องควบคุมขณะยกชิ้นงาน
- ควรตรวจสอบความถูกต้องของการผูกจับชิ้นงานก่อนยกทุกครั้ง
- ตรวจสอบลวดสลิงที่ยึดจับให้ตึงก่อนยกชิ้นงานพ้นจากพื้นดิน
- ตรวจสอบให้สลักกันสลิงที่ตะขอให้อยู่ในสภาพใช้งาน
- ควรเผื่อระยะการยกเนื่องจากบูมเครนจะเกิดการโก่งตัวขณะเริ่มยกน้ำหนักจะทำให้ค่าระยะห่างการยกเพิ่มมากขึ้นตามความยาวของการใช้บูม
- ควรให้รอกได้แนวดิ่งก่อน เมื่อชิ้นงานลอยพ้นพื้นดิน จึงยกให้ลอยสูงขึ้น
- ไม่ควรยึดบูม ตั้งบูมเพื่อยกน้ำหนัก หรือในการดัน หรือผลักชิ้นงาน
- ควรใช้เบรกกว้านเมื่อต้องยกชิ้นงานลอยค้างเป็นเวลานาน
- ไม่ควรปล่อยให้ผู้อื่นอยู่ใกล้รถเครนขณะทำงาน และไม่ควรยกชิ้นงานข้ามศีรษะผู้อื่น
- เมื่อลวดสลิงเกิดไปเกี่ยวสิ่งของต่างๆ ควรวางชิ้นงานแล้วตรวจสอบลวดสลิงเสียก่อน
- ไม่ควรหยุดการตั้ง-นอนบูมอย่างกะทันหัน เพราะอาจทำให้เครนคว่ำ หรือหงายหลังได้
- ไม่ควรปล่อยให้คนเกาะติดไปกับชิ้นงานขณะยก
- ไม่ควรพยายามยกชิ้นงานจากด้านข้างด้วยการสวิงเพื่อยกขณะของยังไม่ลอย
- ไม่ควรยกชิ้นงานเมื่อรู้สึกว่ามีการสั่นไหวของพื้นดิน หยุดเพื่อตรวจสอบพื้นดิน และตัวรถก่อนการยก
- ควรระมัดระวังขณะนอนบูม ควรทำงานอย่างช้าๆ เพื่อป้องกันการยกเกินระยะ
- ควรระวังรอกกระแทกปลายบูม ขณะยืดบูม หรือนอนบูม ควรเปิดระบบตัดรอกไว้ให้ทำงานปกติ
- ควรทดสลิงรอกให้เหมาะสมกับน้ำหนักที่จะยก
- เมื่อยกชิ้นงานลอยพ้นจากพื้นประมาณ10 เซนติเมตร ให้หยุดเพื่อตรวจสอบสิ่งผิดปกติ
- ไม่ควรปล่อยสลิงออกจากกว้านขณะรอกแตะพื้นแล้วเพราะสลิงที่กว้านจะเกิดการฟูได้
- ไม่ควรใช้เครนในการทำงานยกสองรอกพร้อมกันโดยที่ชิ้นงานเป็นคนละชิ้นกัน อาจทำให้บูมเสียหายได้
- ควรจัดเรียงสลิงให้ได้แนว เพื่อป้องกันการหมุนของชิ้นงาน
- ควรใช้ช่วงความยาวบูมให้ลำดับถูกต้องกับน้ำหนักที่จะยก
- ควรตรวจสอบสิ่งกีดขวางในแนวสลิงและให้สัญญาณเสียงเตือนก่อนการสวิง
- ควรใช้เบรกสวิง เมื่อรถเครนหมุนได้ตำแหน่งแล้ว
- ควรเปิดระบบฟรีสวิงเพื่อให้แนวรอกตรงกับศูนย์ถ่วงชิ้นงานก่อนการยก แล้วค่อยใช้ระบบสวิงปกติ
- ไม่ควรสวิงด้วยความเร็วสูง ขณะยกชิ้นงานจะทำให้ระยะห่างจากการยกเพิ่มมากขึ้นจากการเหวี่ยง
- ในขณะที่ขาเครนแต่ละข้างยืดไม่เท่ากัน ไม่ควรสวิงไปในด้านที่ขาเครนยืดออกไปไม่เต็ม หรือสั้นกว่า
- การใช้งานจิ๊ป ควรศึกษาคู่มือการใช้งานให้เข้าใจ และติดตั้งฟังค์ชั่นการทำงานให้ถูกต้อง
- สำหรับการยกที่เคนสองคันควรใช้เครนที่มีประสิทธิภาพหรือยกน้ำหนักได้เท่ากัน
- ควรระมัดระวังการใช้ความยาวสลิงเมื่อใช้รอกทำงานในหลุมลึก
- ควรจัดบูม จิ๊ปเข้าไปในที่ให้เรียบร้อย หลังใช้งานเสร็จ
- ควรจอดรถเครนในที่ที่ปลอดภัย ไม่ควรจอดในที่ลาดเอียงและป้องกันไม่ให้เครนเคลื่อนที่ได้
- ควรมีการตรวจสอบสภาพรถเครนหลังการใช้งาน
- ควรดับเครื่องยนต์ ปิดล็อคประตู สำรวจความเรียบร้อยก่อนออกห่างจากรถเครน
________________
ข้อมูลน่าสนใจ จากน้องๆ นิสิต นายธนา กิตติชยานนท์, นายธนากร วงศ์อมเรศนางสาวนิกาญจน์ โพธิ์พันธ์