รู้หรือไม่ เครนที่คุณใช้ ปลอดภัยแค่ไหน?
มาเรียนรู้ลักษณะของเครนที่ปลอดภัย
พร้อมใช้งานกันดีกว่า
การตรวจสอบเครนให้ปลอดภัย และพร้อมใช้งาน
ปั้นจั่นชนิดอยู่กับที่ หรือ เครน (Crane) เป็นเครื่องจักรที่ใช้ใน การขนถ่ายหรือขนย้ายสินค้าและวัสดุที่มีใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม, คลังสินค้า และสถานประกอบการต่างๆอย่างแพร่หลาย เครื่องจักร ดังกล่าวถือเป็น “เครื่องจักรที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุได้สูง”
กระทรวงมหาดไทยจึงได้ออกประกาศเรื่อง ความปลอดภัยในการทำงาน เกี่ยวกับปั้นจั่น ตั้งแต่เมื่อปี พ.ศ. 2530 ซึ่งประกาศดังกล่าวถือเป็นกฏ หมายที่บังคับใช้มามากกว่า 20 ปี และต่อมาเมื่อมีการจัดตั้งกระทรวง แรงงานและสวัสดิการสังคมขึ้น ประกาศดังกล่าวก็ยังคงมีผลบังคับใช้ อยู่เพียงแต่เปลี่ยนมากำกับดูแลโดยกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม แทนกรมแรงงาน กระทรวง มหาดไทย ในอดีตนั้นเอง
ผู้ประกอบการและนายจ้างควรตระหนักถึงความรับผิดชอบและ หน้าที่ตามประกาศฉบับนี้เพราะแนวโน้มการใช้ปั้นจั่นโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในโรงงานอุตสาหกรรมมีค่อนข้างสูง และมีสถิติอุบัติเหตุจากการทำงาน เกิดขึ้นค่อนข้างบ่อย ทำให้มีผู้เสียชีวิต พิการ และบาดเจ็บจำนวนมาก โดยมีสาเหตุมาจากการไม่ตรวจสอบความปลอดภัยในการใช้ปั้นจั่นตาม ช่วงระยะเวลาที่กำหนด ขาดการตรวจสอบก่อนใช้งานการติดตั้งปั้นจั่น ไม่เหมาะสม การติดตั้งไม่มั่นคงแข็งแรง โดยเฉพาะหัวหน้างานขาดการ ควบคุมดูแลให้ปฏิบัติอย่างถูกต้องและพนักงานขับเครนขาดความรู้ความ เข้าใจในการใช้งานที่ถูกต้อง ดังนั้นเพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการใช้ ปั้นจั่น ผู้ที่รับผิดชอบงานเกี่ยวกับปั้นจั่นต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วย ความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับปั้นจั่นอย่างเคร่งครัด
กฎหมายว่าด้วยความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับปั้นจั่นได้ กำหนดให้นายจ้างจัดให้มีการตรวจสอบส่วนประกอบและอุปกรณ์ของ ปั้นจั่นทุกๆ สามเดือน ตามแบบซึ่งกำหนดไว้ อย่างไรก็ตามวิศวกรผู้ตรวจ สอบและผู้ที่รับผิดชอบงานเกี่ยวกับปั้นจั่นควรมีความรู้และเข้าใจถึงการ ออกแบบและข้อกำหนดต่างๆที่เกี่ยวข้องเพื่อนำมาประกอบการตรวจ ความปลอดภัยของปั้นจั่นได้อย่างถูกต้อง ซึ่งในบทความนี้ขอนำเสนอ เฉพาะจุดที่สำคัญๆและควรตรวจสอบทุกครั้งเพื่อความปลอดภัยของ ปั้นจั่นและเพื่อให้ท่านผู้สนใจได้นำไปพิจารณาประกอบการตรวจสอบ ต่อไป
เครนในโรงงานอุตสาหกรรม โดยทั่วไปแบ่งออกได้เป็นหลายชนิด อาทิเช่น เครนคานเดี่ยว (single girder crane), เครนคานคู่ (double girder crane), เครนขาหยั่ง (gantry crane) และเครนแขนยื่น (Jib crane) ซึ่งมีขนาดหรือความสามารถในการยกน้ำหนักได้แตกต่างกันไป ตามลักษณะความต้องการในการใช้งานมีขนาดตั้งแต่ไม่ถึงหนึ่งตันไป จนถึงเป็นร้อย ๆ ตัน