รอกไฟฟ้า (Electric hoist)
รอกไฟฟ้า นอกจากการใช้งานรอกไฟฟ้าแล้ว เราจำเป็นต้องรู้จักวิธีการตรวจเช็คและดูแลรักษา เพื่อยืดอายุการใช้งานของรอกไฟฟ้าเพื่อให้รอกไฟฟ้าสามารถใช้งานได้ยาวนาน มาดูวิธีการตรวจเช็ค และ ดูแลรักษารอกโซ่ไฟฟ้าอย่างง่ายกันค่ะ เรามาดูกันว่าชิ้นส่วนหรืออุปกรณ์ภายในตัวรอกไฟฟ้านั้น มีวิธีการในการดูแลอย่างไรบ้าง? เรามาหาคำตอบกันค่ะ
1. มอเตอร์รอก ขึ้น-ลง (Motor Hoist)
กำหนดให้มีการตรวจเช็คมอเตอร์ของรอกโซ่ไฟฟ้า ทุกๆ 1 ปี
วัดโอมห์ของขดลวดมอเตอร์
วัดจับกระแสแอมป์ของมอเตอร์
2. ชุดเบรค (Brake Hoist Motor & Travel)
กำหนดให้มีการตรวจชุดเบรคของรอกโซ่ไฟฟ้า ทุกๆ 1 ปี
ตรวจเช็คความหนาของผ้าเบรคสึกไม่เกินค่ามาตรฐาน
ปรับตั้งระยะของเบรค (Air Gap) ตามค่ามาตรฐานของแต่ละรุ่น
ทำความสะอาดผ้าเบรค และชุดคอยล์เบรค
ตรวจเช็คน๊อตยึดคอยล์เบรค โดยใช้ประแจทอร์ค
3. ชุดเกียร์ (Hoist & Travel Gearbox)
กำหนดให้มีการตรวจเช็คชุดเกียร์ของรอกโซ่ไฟฟ้า ทุกๆ 1 ปี
เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเกียร์ ครั้งแรกที่ 500 ชม. และครั้งต่อไปทุกๆ 3,000 ชม. หรือ 2 ปี
สังเกตุการซึม หรือรั่วไหลตามจุดต่างๆ ของห้องเกียร์
ตรวจเฟืองขับภายในของรอกไฟฟ้า โดยตรวจเช็คผ่านฝาครอบเกียร์
4. แกนเฟืองพาโซ่ (Load Shave)
กำหนดให้มีการตรวจเช็คแกนเฟืองของรอกไฟฟ้า ทุกๆ 1 ปี
ตรวจสอบการสึกหรอของร่องพาโซ่ด้วยเครื่องมือวัดตามมาตรฐาน
ตรวจเช็คสภาพภายนอกด้วยตาเปล่า
5. โซ่ยก (Load chain)
กำหนดให้มีการตรวจเช็คโซ่ยกของรอกไฟฟ้า ทุกๆ 1 ปี
ใช้เครื่องมือวัดความหนาของโซ่ ไม่เกินระยะที่กำหนด
ตรวจเช็ตสารหล่อลื่นที่เคลือบโซ่ป้องกันการสึกหรอ
6. อุปกรณ์ไฟฟ้าภายในตู้ (Control)
กำหนดให้มีการตรวจเช็คอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในตู้ของรอกโซ่ไฟฟ้า ทุกๆ 1 ปี
เช็คจุดต่อเข้าไฟต่างๆ
วัดค่ากระแสของอุปกรณ์ไฟฟ้า
ทำความสะอาดเป่าฝุ่นละอองภายในตู้
7. ลิมิตสวิทช์ ขึ้น-ลง (Limit Switch Up-Down)
กำหนดให้มีการตรวจเช็คลิมิตสวิทซ์ของรอกไฟฟ้า ทุกๆ 1 ปี
เช็คโดยการกดการทำงานรอกไฟฟ้าขึ้นลง สังเกตุการตัดการทำงานของลิมิต
8.ชุดตะขอ (Hook)
กำหนดให้มีการตรวจเช็คชุดตะขอของรอกโซ่ไฟฟ้า ทุกๆ 1 ปี
ตรวจสอบระยะปากตะขอ ไม่เกินค่ามาตรฐาน
โครงสร้างของตะขอต้องไม่มีรอยแตกร้าวหรือบิดงอเสียรูปทรง
ตรวจสอบลูกปืน โดยการหมุนรอบให้ได้ 360 องศา
ตัวล็อคปากตะขอ (Safety catch) ยังสามารถใช้งานได้ปกติ