อินเวอร์เตอร์ (Inverter)
ระบบควบคุมความเร็วรอบมอเตอร์ (Variable frequency drive) เป็นอุปกรณ์ควบคุมความเร็วรอบมอเตอร์ให้เหมาะสมกับโหลดที่ใช้งาน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของมอเตอร์ในระบบการผลิตต่างๆในโรงงานอุตสาหกรรม เช่น ระบบสายพาน ปั๊มน้ำ พัดลม และระบบปรับอากาศขนาดใหญ่
Inverter ใช้เทคโนโลยีแบบ Voltage Vector Control (VVC) ทำให้ประสิทธิภาพการควบคุมไม่ให้มีการสูญเสียพลังงานความร้อนในตัวมอเตอร์ และมีอุปกรณ์กำจัดสัญญาณรบกวน ซึ่งป้องกันการรบกวนสัญญาณควบคุมและยังส่งผลดีในการประหยัดพลังงานได้เป็นอย่างดี
เลือกใช้อินเวอร์เตอร์ (Inverter) อย่างไรให้เหมาะสมกับความต้องการ
อินเวอร์เตอร์ (Inverter) คือ ตัวช่วยเปลี่ยนไฟฟ้ากระแสตรงให้กลายเป็นไฟฟ้ากระแสสลับ ด้วยการส่งกระแสไฟฟ้าที่รับมา เปลี่ยนไปเป็นแรงดันไฟฟ้าที่สามารถใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ภายในบ้านได้อย่างเหมาะสม เพราะเครื่องใช้ไฟฟ้าส่วนใหญ่จะมาในรูปแบบกระแสสลับ ทำให้ต้องมีอินเวอร์เตอร์เป็นตัวแปลงไฟกระแสตรงที่เป็นไฟฟ้าภายในบ้าน ให้สามารถทำงานกับเครื่องใช้ไฟฟ้าได้ตามปกติ ซึ่งไฟฟ้ากระแสตรงมักจะมาจากเครื่องกำเนิดกระแสไฟฟ้าโดยตรง, แบตเตอรี่ต่างๆ และแผงโซลาร์เซลล์
โดยอินเวอร์เตอร์มีประโยชน์อยู่ 3 ข้อ คือ
1. ใช้เป็นไฟสำรอง
ถ้าแหล่งจ่ายไฟฟ้าแบบกระแสสลับที่เป็นตัวหลักเกิดปัญหาขัดข้อง เกิดผลกระทบต่อการใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน อินเวอร์เตอร์จะเป็นแหล่งจ่ายไฟฟ้ากระแสสลับสำรอง ซึ่งระบบไฟสำรอง หรือ ninteruptible Power Supplie ใช้งานกับอุปกรณ์และเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีความสำคัญและอาจเสียหายง่าย เมื่อเกิดปัญหาไฟฟ้าหลักขัดข้อง เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ, เครื่องปรับอากาศ และสมาร์ททีวิรุ่นใหม่ เป็นต้น เครื่องใช้ไฟฟ้าเหล่านี้จึงจำเป็นที่จะต้องต่อเข้ากับอินเวอร์เตอร์สำรอง เพื่อให้กระแสไฟใช้ได้ต่อไปด้วยการแปลงแบตเตอรี่ที่ประจุไว้ได้อีกสักพัก ทำให้เจ้าของบ้านสามารถปิดอุปกรณ์และเครื่องใช้ไฟฟ้าเหล่านี้ได้ทันเวลา
2. ควบคุมความของมอเตอร์
อินเวอร์เตอร์จะช่วยเปลี่ยนความถี่ของไฟฟ้ากระแสสลับ เพื่อให้มอเตอร์กระแสสลับถูกควบคุมความเร็วให้เหมาะสมกับการใช้งานมากยิ่งขึ้น ลดความร้อนในขณะใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ, ลดการสูญเสีย และช่วยประหยัดค่าไฟได้ดีอีกด้วย
3. แปลงไฟฟ้าได้อย่างเหมาะสม
อินเวอร์เตอร์จะเป็นตัวช่วยแปลงระบบส่งกำลังของไฟฟ้าแรงสูงในแบบกระแสงตรง ให้เปลี่ยนมาเป็นไฟฟ้ากระแสสลับที่เหมาะสมกับเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ มากยิ่งขึ้น แล้วจ่ายออกไปสู่ผู้ที่ต้องการใช้งานต่อไป
ขั้นตอนการเลือกใช้อินเวอร์เตอร์ (Inverter) ให้เหมาะสมต่อการใช้งาน
อินเวอร์เตอร์ถูกผลิตออกมาหลายขนาดและหลายแบบ เพื่อให้เหมาะสมต่อการใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมแต่ละแห่ง ดังนั้นการเลือกใช้อินเวอร์เตอร์จึงต้องมีความเข้าใจเป็นอย่างดี เพื่อให้ได้อินเวอร์เตอร์ที่เหมาะสมต่อการใช้งานมากที่สุด ทำให้ต้องมีขั้นตอนในการเลือกไปใช้ คือ
1. เลือกการทำงานแบบเชิงกล
การเลือกในลักษณะของเชิงกลจะเน้นที่แรงบิดเป็นหลัก โดยจะมีแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ แรงบิดแบบคงที่ (Constant Torque Load) ที่ใช้งานกับพวกลิฟท์ยกของ, ลิฟท์ขนคน, คอนเวเยอร์ เป็นต้น และอีกหนึ่งประเภท คือ แรงบิดแบบไม่คงที่ (Variable Torque Load) ที่ใช้งานกับพวกพัดลม, ปั๊มน้ำ และเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ที่มีมอเตอร์ เป็นต้น
2. ดูข้อมูลของมอเตอร์ให้ดี
การดูข้อมูลมอเตอร์จากเนมเพลทจะหาค่าของความเร็วและแรงบิดที่โหลดต้องการได้ค่อนข้างแม่นยำ แต่ถ้าเราไปหาที่ค่ากระแสและกำลังของมอเตอร์ในขณะที่ขับโหลดเต็มกำลัง อาจมีความคลาดเคลื่อนเพราะกระแสพิกัดอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา เมื่อนำทั้ง 2 วิธีมาคำนวณหาขนาดของอินเวอร์เตอร์ที่เหมาะสมแล้ว ผลออกมาคือค่ากิโลวัตต์ที่เท่ากัน แต่ค่าความเร็วในด้านอื่นอาจคลาดเคลื่อน และถ้าต้องการเลือกมอเตอร์เพื่อขับโหลดให้เหมาะสมกับงาน ก็ต้องรู้ถึงค่าความเร็วกับแรงบิดโหลดด้วย การดูข้อมูลมอเตอร์จากเนมเพลทจึงให้รายละเอียดที่ชัดเจนกว่า โดยมีวิธีการคำนวณ คือ กำลังมอเตอร์ (P) = แรงบิด (T) x ความเร็วรอบ (RPM)
3. ดูเรื่องความเร็วรอบและประสิทธิภาพในการใช้งาน
ถ้าต้องการเลือกอินเวอร์เตอร์ให้เหมาะสมกับงาน ก็ควรดูเรื่องความเร็วรอบ, ความร้อน และประสิทธิภาพในการทำงานของมอเตอร์ เรื่องที่คุณต้องรู้ คือ ความเร็วรอบสูงสุดในการทำงานของมอเตอร์จะสูงกว่าความเร็วที่ 50Hz มีแบ่งการโหลดแรงบิดที่แยกออกเป็น 2 แบบ คือ
การโหลดแรงบิดคงที่ (Variable Torque Load)
เป็นการปรับและตั้งให้อินเวอร์เตอร์สามารถควบคุมเรื่องของความเร็วในการใช้งานปั๊มและพัดลม การตั้งค่าความเร็วสูงสุดต้องตั้งไว้ที่พิกัดของอัตราการไหลที่เหมาะสมกับตัวงานของคุณ ถ้าการตั้งค่าผิดพลาด ไม่มีความเหมาะสม ก็จะทำให้มอเตอร์ปั๊มและพัดลมทำงานแบบโอเวอร์โหลด พร้อมทำให้เกิดความเสียหายในระยะยาว
การโหลดแรงบิดคงที่ (Constant Torque Load)
เป็นการปรับและตั้งให้อินเวอร์เตอร์สามารถควบคุมความเร็วของเครื่องจักรอุตสาหกรรมที่ต้องการให้มีแรงบิดคงที่ ถ้าต้องการให้ทำงานได้ในระดับความเร็วที่สูงกว่า 50Hz ก็ต้องดูเรื่องความสามารถของมอเตอร์ให้ดี โดยเฉพาะการดูที่ตลับลูกปืนตรงเพลามอเตอร์ว่าทำงานได้ดีและมีประสิทธิภาพมากขนาดไหน และดูชิ้นส่วนต่างๆ ไม่ว่าจะชิ้นเล็กหรือใหญ่ว่ามีหลุดออกมาหรือไม่ และสร้างความอันตรายให้กับคนใช้งานไหม เรื่องเหล่านี้จะเป็นส่วนประกอบที่ทำให้คุณเลือกได้ง่ายมากยิ่งขึ้น
4. ดูจากแรงบิดตอนสตาร์ท
ลองดูแรงบิดตอนสตาร์ทเครื่องจักรให้ดี เพราะในช่วงที่เครื่องจักรเริ่มมีการสตาร์ท ก็จะเกิดเป็นแรงบิดของมอเตอร์ที่ช่วยทำให้เครื่องจักรสามารถหมุนแล้วทำงานได้ตามปกติ และเป็นตัวกำหนดค่ากระแสของอินเวอร์เตอร์เช่นกัน พร้อมบอกค่าต่างๆ ออกมาเป็นเปอร์เซ็นต์ของแรงบิดในช่วงที่เครื่องจักรกลเริ่มมีการทำงานแบบเต็มที่ แรงบิดตอนสตาร์ของเครื่องจักรกลจะถูกผลิตออกมาไม่เหมือนกัน มีแยกประเภทออกไป
การเลือกใช้งานอินเวอร์เตอร์จึงต้องมีการพิจารณาค่าของตัวนี้อยู่เสมอ ถ้าเกิดคำนวณผิดพลาดก็อาจทำให้อินเวอร์เตอร์ไม่สามารถทำงานได้ตามปกติและตัวมอเตอร์เองก็จะไม่สตาร์ท ทำให้งานและเครื่องจักรเกิดความเสียหายมากอีกด้วย
5. เร่งความเร็ว
การเร่งความเร็วของมอเตอร์จะทำให้เครื่องจักรมีการเดินความเร็วรอบในแบบที่ผู้ใช้งานต้องการ หรือที่เรียกว่าความเร็วในช่วงเวลาที่เหมาะสม มอเตอร์จึงใช้กระแสจากอินเวอร์เตอร์ไปสร้างแรงบิดชนิด Acceleration Torque ขึ้นมาทำงาน แต่ก็มีข้อควรรู้ก่อนที่จะพิจารณาอินเวอร์เตอร์ในลักษณะนี้ คือ การปรับตั้งค่าผิดอาจทำให้อินเวอร์เตอร์ตัดวงจรตัวเองแล้วเกิดความเสียหาย และถ้าปรับตั้งสูงเกินค่าที่เหมาะสมก็ทำให้เครื่องจักรเสียหายได้ไม่น้อยเช่นกัน
6. ลดความเร็ว
การลดความเร็วของอินเวอร์เตอร์ หรือ Deceleration Requirement ต้องพิจารณา Deceleration Torque ด้วย 2 สาเหตุหลัก คือ
ในขณะที่มอเตอร์กำลังลดความเร็วลง ตัวมอเตอร์ก็จะจ่ายพลังงานคืนกลับไปที่ระบบกับอินเวอร์เตอร์ ดังนั้นถ้าเกิดตั้งค่าไม่ถูกต้อง อินเวอร์เตอร์ก็จะทำการตัดวงจรตัวเองทันที
ถ้าแรงบิดช่วงลดความเร็วเกิดมีค่าสูงมากเกินไปก็จะทำให้เครื่องจักรที่ใช้อยู่เสียหายอย่างหนักเลยทีเดียว
7. ดูเรื่องสภาพแวดล้อม
สภาพแวดล้อมของการติดตั้งอินเวอร์เตอร์เป็นส่วนหนึ่งที่ต้องพิจารณาให้ดี โดยดูตามปัจจัยเหล่านี้
อุณหภูมิโดยรอบจะต้องอยู่ที่ประมาณ 0-50 องศาเซลเซียสถึงจะเหมาะสม ถ้าจำเป็นต้องนำไปติดตรงจุดที่ความร้อนสูงเกินกว่า 50 องศาเซลเซียส ก็ต้องเพิ่มขนาดของกิโลวัตต์อินเวอร์เตอร์ให้มากยิ่งขึ้น
ความชื้นในบริเวณที่ติดตั้งอินเวอร์เตอร์จะต้องไม่สูงเกินไป
ต้องมีความสามารถในเรื่องกันฝุ่นและน้ำด้วยมาตรฐาน Index of Protection (IP) ที่ต้องอยู่ในระดับ 20 และ 21
ถ้าทำตามขั้นตอนการเลือกอินเวอร์เตอร์ทั้ง 7 ข้อนี้ ก็จะช่วยทำให้คุณได้อินเวอร์เตอร์ที่เหมาะสมต่อการใช้งาน ซื้อมาไม่เสียเปล่าและไม่ทำให้เครื่องจักรเกิดความเสียหาย
Inverter สามารถนำมาใช้กับงานอะไร?
ปัจจุบันนำมาใช้อย่างแพร่หลายในโรงงานอุตสาหกรรม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในผลิต ลดต้นทุนการผลิตและงานทั่วไปในระบบปั๊มน้ำและระบบปรับอากาศรวมถึงงานเกษตรกรรมสมัยใหม่ อาทิ
1. งานสายการผลิตในอุตสาหกรรม
– เครื่องจักรกลในอุตสาหกรรมทุกประเภทที่ใช้มอเตอร์เป็นแรงขับเคลื่อน
– ระบบสายพานลำเลียง
– กระบวนการผลิตที่ต้องการควบคุมประสิทธิภาพและคุณภาพการผลิตให้คงที่
– งานขึ้นรูป แปรรูป อื่นๆ
2. งานทั่วไป ที่มีมอเตอร์เป็นขับพลังงาน
– ระบบควบคุมปั๊มน้ำ พัดลม
– ระบบปรับอากาศในโรงงาน และอาคารขนาดใหญ่
– การลำเลียงการลากจูง เช่น ลิฟท์ บรรไดเลื่อน รอกไฟฟ้า
– ระบบอัดอากาศ
– ระบบการเกษตรกรรม ที่ใช้มอเตอร์
เหตุผลที่ต้องใช้ Inverter
1. สามารถปรับความเร็วรอบมอเตอร์ได้จากเดิมซึ่งคงที่ ทั้งมอเตอร์ ปั๊มน้ำ และพัดลม
ทำให้ได้ความเร็วรอบที่เหมาะสมตามความต้องการทำงานในแต่ละลักษณะ เพื่อให้ระบบมีเสถียรภาพคงที่อยู่ตลอดเวลา
2. เพิ่มคุณภาพของชิ้นงานให้ถูกต้องตามความต้องการ และลดต้นทุนในการผลิต
3. ช่วยลดการสึกหรอของเครื่องจักร และยืดอายุการใช้งานของมอเตอร์ พัดลม และปั๊มน้ำ
4. ลดการกระชากไฟฟ้าตอนเริ่มต้น ทำให้ลดค่าความต้องการพลังไฟฟ้า โดยเฉพาะมอเตอร์ที่มีขนาดใหญ่
5. ประหยัดพลังงานและประหยัดค่าใช้จ่าย
___________________________________
รับติดตั้ง อินเวอร์เตอร์ INVESTER คุณภาพสูง ราคาประหยัด ที่เหมาะกับงานเครนไฟฟ้า/รอกไฟฟ้า ทุกประเภท
ติดต่อ: O855587O7O, Line: thailandcrane
Support Sales Engineer
Thailand CRANE